วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การจับคู่การเต้นลีลาศ

การจับคู่ลีลาศ  (The  Hold)
                การจับคู่ลีลาศ  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ฝึกให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ  เพราะถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องตามแบบแผน  นอกจากจะทำให้ขาดความสง่างามแล้ว  ยังเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการนำ (Lead)  และการตาม (Follow)  เพราะจะทำให้เสียการทรงตัวและการก้าวเท้าของคู่ลีลาศไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน  หรืออาจทำให้เหยียบเท้ากันได้  ดังนั้นการจับคู่ลีลาศที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการลีลาศ  โดยเฉพาะผู้ชายจะต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้อง           โดยปกติท่าเริ่มต้นในการจับคู่ลีลาศแทบทุกจังหวะ  จะจับคู่แบบบอลรูมปิด (Closed  ballroom)  ได้แก่  จังหวะวอลซ์  (Waltz)  จังหวะควิกสเต็ป  (Quick  Step)  จังหวะชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)  และจังหวะบีกิน  (beguine)  แต่เมื่อคู่ลีลาศออกลวดลาย (Figure)  ต่างๆแล้ว  การจับคู่ลีลาศจะเปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นตามลวดลายของจังหวะนั้นๆ  มีเพียงบางจังหวะที่จับคู่ลีลาศตอนเริ่มต้นแตกต่างออกไป  ได้แก่   จังหวะแทงโก้  (Tango)  จังหวะไจฟว์ (Jive) และจังหวะร็อคแอนด์โรล  (Rock  and  Roll)  เป็นต้น
·         การจับคู่เริ่มต้นในการลีลาศที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี  2 แบบ 
  1.  แบบบอลรูมปิด  (Closed  ballroom)  
  - ลักษณะการจับคู่ลีลาศของผู้ชาย  (The  Hole  for  Gentleman)
         1.  ยืนตัวตรงเท้าชิดกัน  ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่บริเวณปลายเท้า  ลำตัวตั้งตรง  เกร็งลำตัวบริเวณ เอง เล็กน้อยโดยไม่ต้องเกร็งไหล่  คอและศีรษะตั้งตรงตามสบาย           2. ใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง  โดยการคีบนิ้วทั้งสี่ของผู้หญิงไว้ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้  โอบนิ้วมือที่เหลือแตะหลังมือขวาของผู้หญิงโดยไม่บีบหรือเกร็งมือ           3. มือซ้ายไม่บิดงอจะเป็นแนวตรงตลอดถึงข้อศอก  แขนซ้ายท่อนบนจากไหล่ถึงข้อศอกลาดลงเล็กน้อย  พยายามให้ข้อศอกงออยู่ในระดับเดียวกับแผ่นหลังของผู้หญิง  ระวังอย่าให้เอนไปข้างหน้า  เพราะจะเป็นการดันแขนขวาของผู้หญิงให้เลยไปข้างหลัง  และระวังอย่างดึงมือขวาของ  ผู้หญิงมาข้างหน้าจนตนเองหลังแอ่น           4. แขนซ้ายตั้งแต่ข้อศอกจนถึงฝ่ามือ  หักมุมชี้ตรงขึ้นและเอนไปข้างหน้าเล็กน้อยพยายามรักษาระดับเดิมจากไหล่ถึงข้อศอกไว้  ปลายแขนเอนเข้าหาศีรษะเล็กน้อย (แขนซ้ายตั้งแต่ไหล่ถึงฝ่ามือจะงอเป็นมุมฉาก)           5.  แขนขวาตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกลาดลงจนเกือบมีลักษณะเดียวกับแขนซ้าย  ศอกขวายื่นล้ำจากแนวไหล่ออกไปข้างหน้าเล็กน้อย  เพราะจะต้องอ้อมไปแตะตรงกลางหลังของผู้หญิง  ระวังอย่างยื่นศอกล้ำออกไปมาก           6.  ฝ่ามือขวาแตะตรงบริเวณใต้สะบักของผู้หญิง  ปลายนิ้วมือพอดีกับกึ่งกลางสันหลังและแนบชิดกันไม่แตกแยกจากกัน  จะทำให้มองดูแล้วไม่สวยงาม           7. จับคู่ลีลาศในลักษณะยืนชิดกัน  ผู้ชายจะดึงผู้หญิงให้ยืนอยู่ตรงหน้าหรือยืนเยื้องมาทางขวามือของตนเองเล็กน้อย  แต่ในงานสังคมทั่วๆไปควรยืนจับคู่ห่างกันประมาณ  6 นิ้ว

ลักษณะการยืนจับคู่ลีลาศของผู้หญิง
  (The  Hold  for  Lady)
 -   ในการจับคู่ลีลาศของผู้หญิงส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้ชาย  แต่ก็มีสิ่งที่ควรปฏิบัติ  ดังนี้      1. ยืนตัวตรงเกร็งบริเวณเอนเล็กน้อยโดยไม่ยกและเกร็งไหล่  ยืนให้ตรงกับผู้ชายหรือยืนเยื้องไปทางซ้ายมือของตัวเองเล็กน้อย  แต่ระวังอย่าให้มากเกินไป      2.  ยื่นมือขวาให้ผู้ชายจับในระดับปกติ  นิ้วมือทั้งสี่ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือแนบชิดกัน      3. วางแขนซ้ายพาดทับแขนขวาของผู้ชายเบาๆ  นิ้วมือซ้ายแนบชิดกันแตะบนต้นแขนขวาของผู้ชายค่อนไปจนเกือบถึงไหล่
การจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมเปิด  (Open  ballroom
- ลักษณะการจับคู่ลีลาศของผู้ชายและผู้หญิง (The  Hole  for  Gentleman  and Lady)
1.  ผู้หญิงจะยืนอยู่ทางขวามือของผู้ชาย  หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน  ด้านข้างลำตัวของผู้หญิงและผู้ชายอยู่ชิดกัน
2.
  ผู้ชายใช้แขนขวาโอบไปที่เอวของผู้หญิงทางด้านหลัง  ไหล่ขวาบิดเข้าหาผู้หญิง  ยกข้อศอกขวาขึ้นสูงพอประมาณ
3.
  ผู้หญิงใช้มือซ้ายวางที่บริเวณไหล่ขวาของผู้ชาย  โดยวางแขนซ้ายพาดทับแขนขวาของ ผู้ชายเบาๆ
4.
  ผู้ชายใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง  เหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า  หรือจะงอศอกซ้ายเข้ามาเล็กน้อยก็ได้                นอกจากนี้  ยังมีการจับคู่ลีลาศอีกลักษณะหนึ่ง คือ การจับคู่ลีลาศในประเภทจังหวะลาติน อเมริกัน (Latin  American)  การจับคู่ในการลีลาศจังหวะประเภทนี้  จะมีลวดลายการลีลาศและการจับคู่ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของการลีลาศ  การจับคู่ลีลาศในแต่ละรูปแบบ มีดังนี้
·         การจับคู่แบบลาตินอเมริกัน
                    มีความแตกต่างจากการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด  ดังนี้                1.  ระยะห่างระหว่างคู่ลีลาศ  ทั้งคู่จะยืนห่างกันมากกว่าการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด                2.  มือขวาของผู้ชายแตะตรงสะบักซ้ายของผู้หญิง  แทนที่จะแตะตรงกลางหลัง                3.  แขนซ้ายของผู้หญิง  วางซ้อนทาบอยู่บนแขนขวาของผู้ชายอย่างสบายๆ                4.  มือซ้ายของผู้ชายยังคงจับมือขวาของผู้หญิงไว้เหมือนกับการจับคู่ลีลาศแบบบอลรูมปิด
        การจับคู่ลีลาศแบบเปิด  พบมากในการลีลาศจังหวะไจฟว์  (Jive)  และจังหวะร็อค  แอนด์ โรล (Rock  and  Roll)   เป็นการจับมือเพียงข้างเดียว  โดยผู้ชายใช้มือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิง  ยืนห่างกันในระยะที่ต่างตนต่างเหยียดแขนได้พองาม  ส่วนมือข้างที่เป็นอิสระจะถูกยกไว้ข้างลำตัว  หรืออาจจะยกชูสูงขึ้นก็ได้แล้วแต่ลีลาของคู่ลีลาศ            การจับคู่ลีลาศแบบข้าง  จะพบมากการลีลาศจังหวะ  ชา ชา ช่า   (Cha Cha Cha) และจังหวะ คิวบัน รัมบ้า  (Cuban Rumba) การจับคู่ลีลาศแบบนี้เป็นการจับคู่ลีลาศด้วยมือข้างเดียว  และจับในขณะที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงยืนหันหน้าเข้าหากัน หรือหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งคู่ยืนห่างกันพอประมาณ ส่วนแขนข้างที่เป็นอิสระอาจเหยียดออกไปข้างลำตัว            การจับคู่ลีลาศแบบสองมือ  มักนำมาใช้ลีลาศในจังหวะไจฟว์  (Jive) เป็นส่วนมาก  ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะยืนหันหน้าเข้าหากันและห่างกันพอสมควร  มือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิงและมือขวาของผู้ชายจับมือซ้ายของผู้หญิง  ลักษณะการจับมือ  ผู้ชายจะหงายฝ่ามือทั้งสองข้างขึ้น  ผู้หญิงจะคว่ำฝ่ามือทั้งสองข้างวางลงบนฝ่ามือของผู้ชาย  โดยผู้ชายใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกุมมือของผู้หญิงไว้


สรุปเนื้อหาบทที่ 1 (วิชาสุขศึกษา)

    สรุปเนื้อหาบทที่ 1
 ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเชลล์  มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นจำนวนล้านๆเชลล์กลุ่มเชลล์ที่รวมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันเมื่อรวมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ประกอบด้วยไต ท่อไตกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ เป็นต้น ระบบ ต่างๆในร่างกายทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ต้องทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กับร่างกายจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติ
ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
         
เมื่อกล่าวถึงความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ระบบต่างๆ ในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดังนั้นระบบทุกระบบในร่างกายต้องทำงานสัมพันธ์กัน หากอยวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติ ดังนั้น จึงควรบำรุงรักษาสุขภาพกายของตนให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
1.รักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน ซึ่งการรักษาความสะอาด                                                                    2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการความสะอาดรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่                3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค จึงควรออกกำลังกายอย่างน้องสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
 4.พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอน
 5.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
 6.หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ สิ่งเหล่านี้ล้วนปั่นทอนสุขภาพและนำมาสู่โรคร้ายต่างๆ
 7.ตรวจเช็คร่างกาย ชั่งน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค    ร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง       
  ระบบประสาทระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมกานทำงานและการรับรู้ความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนรวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ  องค์ประกอบของระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ระบบส่วนกลาง และระบบส่วนปลาย
1.               ระบบส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
 สมอง- เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาท
ไขสันหลัง- เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลังโดยเริ่มจากกระดูกสันหลังและมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย
2.               ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสารทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ ระบบประสาทส่วนปลายทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน
การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น ขณะที่นักเรียนอ่านหนังสือเนื้อหาของบทเรียนนี้อยู่นั้น ระบบประสาทในร่างกายของนักเรียนกำลังแยกการทำงานอย่างหลากหลายโดยใช้เวลาเพียงเสี่ยววินาที นอกจากนั้นระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะต่างๆและส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ การย่อยอาหาร และระบบอื่นให้ทำงานตามปกติ
 การบำรุงรักษาระบบประสาท มีดังนี้
1.ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
2.ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3.หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4.พยามยามผ่อนคลายความเครียด
  ระบบสืบพันธุ์
 เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไปเพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ การสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
- อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
-อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
  ระบบต่อมไร้ท้อ
     เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท้อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ฮอร์โมนทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกต่อมไร้ท้อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน  
 ต่อมไรท้อในร่างกาย  
 
 1.ต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และต่อมใต้สมองส่วนหลัง  2.ต่อมหมวกไต      3.ต่อมไทรอยด์   4.ต่อมพาราไทรอยด์
    5.ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน     6.รังไข่  7.ต่อมไทมัส
          การควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท้อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึกทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว