วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาบทที่ 1 (วิชาสุขศึกษา)

    สรุปเนื้อหาบทที่ 1
 ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยเชลล์  มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันเป็นจำนวนล้านๆเชลล์กลุ่มเชลล์ที่รวมกันทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันเมื่อรวมกันทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อวัยวะ อวัยวะหลายๆอวัยวะทำงานประสานกันเกิดเป็น ระบบ ที่สำคัญต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ประกอบด้วยไต ท่อไตกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ เป็นต้น ระบบ ต่างๆในร่างกายทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่ต้องทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กับร่างกายจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติ
ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
         
เมื่อกล่าวถึงความสำคัญของกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานของอวัยวะต่างๆ ระบบต่างๆ ในร่างกายต้องพึ่งพาและทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดังนั้นระบบทุกระบบในร่างกายต้องทำงานสัมพันธ์กัน หากอยวัยวะหรือระบบใดทำงานผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติ ดังนั้น จึงควรบำรุงรักษาสุขภาพกายของตนให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   หลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
1.รักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน ซึ่งการรักษาความสะอาด                                                                    2.บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการความสะอาดรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่                3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค จึงควรออกกำลังกายอย่างน้องสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
 4.พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอน
 5.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ การทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
 6.หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ สิ่งเหล่านี้ล้วนปั่นทอนสุขภาพและนำมาสู่โรคร้ายต่างๆ
 7.ตรวจเช็คร่างกาย ชั่งน้ำหนักเป็นประจำ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค    ร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง       
  ระบบประสาทระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมกานทำงานและการรับรู้ความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนรวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่างๆ  องค์ประกอบของระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ระบบส่วนกลาง และระบบส่วนปลาย
1.               ระบบส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด
 สมอง- เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาท
ไขสันหลัง- เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลังโดยเริ่มจากกระดูกสันหลังและมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย
2.               ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย เส้นประสารทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และประสาทระบบอัตโนมัติ ระบบประสาทส่วนปลายทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน
การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น ขณะที่นักเรียนอ่านหนังสือเนื้อหาของบทเรียนนี้อยู่นั้น ระบบประสาทในร่างกายของนักเรียนกำลังแยกการทำงานอย่างหลากหลายโดยใช้เวลาเพียงเสี่ยววินาที นอกจากนั้นระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะต่างๆและส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ การย่อยอาหาร และระบบอื่นให้ทำงานตามปกติ
 การบำรุงรักษาระบบประสาท มีดังนี้
1.ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
2.ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
3.หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งยาเสพติดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4.พยามยามผ่อนคลายความเครียด
  ระบบสืบพันธุ์
 เป็นระบบที่เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของสิ่งชีวิตให้มากขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นการทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไปเพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ การสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
- อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย
-อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
  ระบบต่อมไร้ท้อ
     เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท้อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ฮอร์โมนทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกต่อมไร้ท้อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน  
 ต่อมไรท้อในร่างกาย  
 
 1.ต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และต่อมใต้สมองส่วนหลัง  2.ต่อมหมวกไต      3.ต่อมไทรอยด์   4.ต่อมพาราไทรอยด์
    5.ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน     6.รังไข่  7.ต่อมไทมัส
          การควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท้อที่ทำงานร่วมกัน การทำงานของระบบประสาทนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึกทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น